วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564

B.F. Skinner


                       
                                          ที่มา : https://www.firstdiscoverers.co.uk

1. ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1940 ที่ มลรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา         
- จบปริญญาตรี ทางวรรณคดี ในอังกฤษ
-  เข้าศึกษาต่อสาขาจิตวิทยา วิชาเอกพฤติกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโทและเอก ณ มหาวิทยาลัย   ฮาร์ดเวิร์ด ปี ค.ศ.1982 
-  เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นทฤษฎีของการเรียนรู้ที่ เรียกว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning)

 2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ ( Skinner Operant  Conditioning Theory)

                ทฤษฎีของท่านเป็นทฤษฎีที่มีประโยชน์ในการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์เป็นผู้มีความเห็นสอดคล้อง กับ Thorndike ว่า การเสริมแรง (reinforcement)  เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ แต่มีความแตกต่างตรงที่กล่าวว่า "การเชื่อมโยงจะเกิดขึ้นระหว่าง รางวัล ( reward ) และ ตอบสนอง (response) แต่ Thordike จะบอกว่าการเชื่อมโยงระหว่างเกิดขึ้นระหว่าง สิ่งเร้า (stimulus) และ การตอบสนอง (response) 
      การเรียนรู้ของสกินเนอร์ ได้ทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบ Operant โดยใช้หนูและนกเป็น    ตัวอย่างในการทดลอง จนกระทั่งได้หลักการต่างๆ เกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบ operant หลังจากนั้นจึงนำหลักการนี้มาศึกษาการเรียนรู้ของมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1950 โดยท่านได้เขียนหนังสือชื่อ"Science and Human Behavior" เนื่องจากท่านเป็นบิดาสนใจในการเรียนของบุตรของท่าน ซึ่งขณะนั้นกำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา ท่านจึงศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนในโรงเรียนในปี 1954 ได้เขียน บทความหัวข้อ "The Science of learning and the Art of teaching" นอกจากนี้ท่านมีความสนใจที่ จะใช้ทฤษฎีของท่านไปประยุกต์เกี่ยวกับการสอนจึงได้เขียนบทความลงในวารสาร Science ในหัวข้อ  เรื่อง "Teaching Machines" ปี ค.ศ.1958  
                
 ทฤษฎีของสกินเนอร์ให้ความสำคัญกับ ผลกรรม ที่ตามมาหลังจากการแสดงพฤติกรรม

พฤติกรรมที่ปรากฏออกมาเกิดจากการกระทำของตัวบุคคลเอง (Active) มากกว่า ที่จะเกิดขึ้นจากการกระตุ้น ของสิ่งเร้า (Passive)
    
หลักการเรียนรู้ ตามแนวคิดของสกินเนอร์ คือ 
  •      เมื่อต้องการบุคคลเกิดการเรียนรู้สิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง ควรให้บุคคลนั้นแสดงพฤติ กรรมต่าง ๆ โดยไม่มีการบอกหรือบังคับ 
  •       เมื่อใดก็ตามที่บุคคลแสดง พฤติกรรมการเรียนรู้ตามที่ต้องการ จะต้องมีการเสริมแรงพฤติกรรมนั้นโดยทันที่ 
  •      เพื่อให้บุคคลเกิดการเรียนรู้พฤติกรรมนั้น ว่าเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องหรือแก้ปัญหาได้ถูกต้องแล้ว 
3. การทดลองของสกินเนอร์

เพื่อแสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้เกิดจากการลงมือกระทำของผู้เรียน Skinner ใช้หนูทดลองในกล่อง  "Skinner box"  ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับการทดลองนี้โดยเฉพาะ
 
"Skinner box"
 กล่องของสกินเนอร์ (Skinner Box) เป็นกล่องใบเล็กๆ ในกล่องมีคานซึ่งเมื่อหนูกดจะได้อาหารกิน และการได้อาหารกินนี้จะมีเงื่อนไขบางอย่างเช่นเสียงดังแกร๊กและมีถาดสำหรับรองรับอาหาร  Skinner จับหนูซึ่งกำลังหิวใส่ลงไปในกล่องทดลอง ปรากฎว่า หนูวิ่งไปวิ่งมา และโดยบังเอิญหนูไปเหยียบคานเข้า ซึ่งมันได้ยินเสียงดังแกร๊กและหลังจากนั้นก็มีอาหารหล่นมาตามท่อลงสู่ถาดหนูรีบหยิบอาหารนั้นกินจากนั้นก็วิ่งไปวิ่งมาอีก ในที่สุดหนูจะเฝ้าเพื่อกดคานและวิ่งไปคอยรับอาหาร ครั้งแรกหนูจะเกิดการเรียนรู้ชนิด generalization คือคิดว่ากดคานทุกครั้งก็จะได้อาหารตลอด ต่อมาเกิดการเรียนรู้ชนิด discrimination คือรู้ว่าเมื่อได้ยินเสียงแกร๊กเท่านั้นจึงจะได้อาหาร
         
                        
    
    จากนั้น skinner ได้เปลี่ยนการทดลอง โดยงดการให้อาหารเมื่อหนูกดคาน แต่ยังมีเสียงแกร๊กตามปกติ ปรากฎว่าหนูกดคาน ต่ออีกเพียง 2- 3 ครั้งก็เลิกกดต่อมา Skinner ทำการทดลองเปรียบเทียบระหว่างหนู  2 ตัว ตัวหนึ่งเมื่อกดคานก็จะได้อาหารทุกครั้ง อีกตัวเมื่อกดคานบางทีก็ได้บางทีก็ไม่ได้อาหาร ผลปรากฏว่า หนูตัวแรกเมื่อหยุดให้อาหารหนูแทบจะเลิกกดทันทีเหมือนกัน ส่วนอีกตัวหนึ่ง ยังเฝ้ากดอยู่แม้ว่าจะเหนื่อยจนหลับไป เมื่อตื่นขึ้นมาก็ยังเฝ้ากดคานต่อไป ลักษณะการให้ การเสริมแรง reinforcment เช่นนี้ เหมือนกับคนเล่นการพนัน ถึงแม้ว่าจะได้บ้าง เสียบ้าง คนก็ยังเล่น เพราะ คิดว่าอาจจะได้
  

ผลการทดลองนี้สรุปได้ว่าการเรียนรู้ที่ดีต้องมีการเสริมแรง ทำให้เกิดทฤษฎีเสริมแรง


 ไดอะแกรมแสดงการเรียนรู้ของ Operant learning model
     
                                               1. Response (กดคาน) ------รางวัล (อาหาร - reinforcing stimulus - S.)      
2. คาน (S) <-- +2 อาหาร -----R (กดคาน ) 
3. คาน (S) ------>กด (R) + อาหาร (reinforcer)

        Skiner กล่าวว่าการเรียนรู้ชนิด operant conditioning หรือ Type - R conditioning นั้นผู้เรียนจะต้องเป็นฝ่ายกระทำเอง มิใช่เป็นการแสดงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจาก สิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น เหมือนกับการเรียนรู้ชนิด classical conditioning สังเกตได้จากตัวอย่างของการทดลอง การที่หนูได้กินอาหาร เพราะหนูเป็นผู้กดคานจึงได้อาหารกิน หรือการที่เราหิว แล้วได้กินอาหาร เพราะเราเป็นผู้ทำหรือสั่งให้คนอื่นทำ

 4. หลักการและแนวคิดที่สำคัญของสกินเนอร์ มีดังนี้

      แนวความคิดของสกินเนอร์เกี่ยวกับเรื่องการแสดงพฤติกรรมในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำและได้รับการเสริมแรง จะทำให้ผู้นั้นมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมช้ำเดิมอีก  โดยพฤติกรรม (Behavior) ที่เกิดขึ้นของบุคคล จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามผลกรรม (Consequence) ที่ตามมา ซึ่งสกินเนอร์ให้ความสำคัญกับ ผลกรรม 2 ประเภท คือ

 1. การเสริมแรง (Reinforcement)

 2. การลงโทษ (Punishment)

1.    การเสริมแรง (Reinforcement) หากบุคคลได้รับผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรงก็จะทำให้พฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำอีก แบ่ง ออกเป็นการเสริมแรงทางบวก Positive Reinforcement และ การเสริมแรงทางลบ  Negative Reinforcement

               
 5. ประเภทของตัวเสริมแรง

            5.1 การเสริมแรงบวก (Positive reinforcement)     


 สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับหรือนำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้นหรือมีแนวโน้มจะกระทำ   พฤติกรรมนั้น ๆ เพิ่มมากขึ้น  เช่น  การที่ ผู้เรียนให้ความสนใจกับวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะ   ว่าพึงพอใจในตัวผู้สอน หรือเพราะว่าทำคะแนนได้ดีใน วิชานั้น ๆ ดังนั้นการเสริมแรงทางบวกจึงหมายถึง การที่คนแสดงพฤติกรรมในแต่ละวันแล้วได้รับผลที่ตนเองพอใจ 

           ประเภทของตัวเสริมแรง สิ่งที่มีศักยภาพเป็นตัวเสริมแรงได้นั้นมีดังต่อไปนี้

      1. ตัวเสริมแรงประเภทสิ่งของ (Material Reinforcers) 

         คือ การให้การเสริมแรงด้วยสิ่งของประเภทต่าง ๆ เช่น ของเล่น ของขวัญ อาหาร เป็นต้น

      2. ตัวเสริมแรงทางสังคม (Social Reinforcers)

                   คือ การให้การเสริมแรงด้วยการพูดชมเชย และการแสดงออกโดยใช้ท่าทาง เช่น การยิ้มให้                     การโอบกอด การพยักหน้าแสดง การยอมรับ การมองด้วยความชื่นชม เป็นต้น

    3. ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม (Activity Reinforcers) 

                  คือ การให้ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรมทที่บุคคลชื่นชอบมาช่วยเสริมแรงในกิจกรรมที่บุคคลไม่               ค่อยชื่นชอบหรือที่ เรียกว่า “หลักการพรีแมค” (Premack Principle) เช่น การให้เล่น                                   คอมพิวเตอร์เมื่อเด็กทำการบ้านเสร็จแล้วโดยวางเงื่อนไขว่าเด็กจะต้องทำการบ้านให้เสร็จก่อนที่จะไปเล่นคอมพิวเตอร์ได้

  4. ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร (Token Reinforcers)

                    คือ การใช้เงิน คูปอง ดาว เบี้ย แต้ม แสตมป์ เป็นตัวเสริมแรง โดยที่ตัวเสริมแรงนี้มีคุณค่าเป็นตัวเสริมแรงได้ เพราะสามารถนำไปแลกเป็นตัวเสริมแรงอื่น ๆ ได้ เช่น ห้างสรรพสินค้าให้คูปอง    ส่วนลด 1 ใบ เมื่อ ซื้อสินค้าครบ 500 บาท ซึ่งคูปอง  1 ใบ มีค่าเท่ากับ ส่วนลด 15 % ในการซื้อ ครั้ง     ต่อไป 
 
      5. ตัวเสริมแรงภายใน (Covert Reinforcers)

                    
คือ ตัวเสริมแรงที่เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในใจ เช่น ความสุข ความสบายใจ ความภูม ใจ                     ความอิ่มเอมใจ เป็นต้นน เช่น การที่คนเราชอบทำบุญ เป็นประจำ เพราะทำแล้วรู้สึกสบายใจ      ความสบายใจที่ได้รับจากการทำบุญ จึงเป็นตัวเสริมแรงจากภายในที่ทำให้เราทำบุญอยู่เสมอ

            5.2 การเสริมแรงลบ (Negative reinforcement)

     การเสริมแรงลบจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ ไปกับการเสริมแรงบวก การเสริมแรงลบ มีเป้าหมายเช่น    เดียวกันกับการเสริมแรงบวก  คือสามารถเพิ่มความคงทนของพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพียงแต่มีวิธีที่   ต่างกัน เพราะแทนที่จะให้สิ่งเร้าบวก แต่กลับดึงเอาสิ่งเร้าลบ หรือสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนไม่พึงพอใจหรือไม่   ต้องการ  (aversive stimuli) ออกไปเมื่อได้แสดงพฤติกรรมตามที่ผู้ใหญ่ต้องการแล้วจริงๆ แล้วการเสริมแรงลบเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในชีวิตประจำวัน เช่น การที่เด็กเก็บเสื้อผ้า หรือของเล่นให้เป็นที่เป็นทางเพื่อแม่จะได้ไม่บ่น ถ้าแม่บ่นถือว่าเป็นการลงโทษ เพราะการบ่นเป็นสิ่งที่เด็กไม่ชอบไม่ต้องการ ดังนั้นเมื่องดการบ่นแล้วจะทำให้เด็กทำในสิ่งที่แม่ต้องการ เรียกว่า การเสริมแรงลบ

      5.3 การลงโทษ (Punishment)  
 
     เป็นการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมคงที่หรือเพิ่มมาก ขึ้น อันเป็นผลมาจากการที่เราทำพฤติกรรม         ดังกล่าวแล้วสามารถ หลีกหนีจากสิ่งที่ เราไม่พึ่งพอใจ (Aversive Stimuli)ได้ 

 6. ตารางกำหนดการให้การเสริมแรง (Schedules of Reinfarcement)
           การกำหนดระยะเวลา (Schedule ) ของการเสริมแรง (stimulus)  ใช้ได้ผลการในการควบคุมอัตราการตอบสนอง (Response)
  • 6.1 การให้การเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง  ( Continuous Schedule ) ทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ถูกต้องตามเงื่อนไขจะได้รับการเสริมแรงทันที ซึ่งมักจะใช้ในระยะแรก ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่
  • 6.2  การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว ( Partial Reinfarcement) เป็นการเสริมแรงเฉพาะบางครั้งเท่านั้น สกินเนอร์พบว่าการให้การเสริมแรงทุกครั้งแม้ว่ามักว่าจะเป็นการใช้ในระยะแรกของการเรียนรู้โดยการกระทำ แต่ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการให้การเสริมเป็น ครั้งคราว ทั้งนี้เนื่องจากสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่จริง ๆ ของบุคคลทั่วไป การเสริมแรงเป็น ครั้งคราว แบ่งเป็น   1) ใช้ช่วงเวลาเป็นเกณฑ์ Interval scale 2.) ใช้จํานวนครั้งป็นเกณฑ์ Ratio scale

                                    การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว ( Partial Reinfarcement)



     ก. การเสริมแรงในช่วงเวลาที่แน่นอน (fixed interval-Fl) หมายถึง การให้แรงเสริมโดยกําหนดระยะเวลาที่แน่นอนหลังจากที่ผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาในครั้งแรกและครั้งต่อ ๆ ไป ได้อย่างถูกต้อง เช่น 5 นาที  1 ช.ม. หรือ 7 วัน เป็นต้น ทําให้ผู้เรียนคาดคะเนได้ถูกว่า เมื่อใดจะได้รับแรงเสริม เป็นที่น่าสังเกตว่าโดยกระบวนการนี้พฤติกรรมจะเพิ่มขึ้นเมื่อจวนจะถึงกําหนดเวลา หลังจากนั้นการแสดงพฤติกรรมอาจจะเฉื่อยลง

  ข. การเสริมแรงในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (variable interval-VI)  หมายถึง การให้แรงเสริมครั้งแรกและครั้ง ต่อ ๆ ไปแบบไม่แน่นอน แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ผู้เรียนไม่สามารถเดา หรือคาดคะเนได้ว่าจะได้รับแรงเสริมเมื่อใด การให้แรงเสริมในลักษณะนี้สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้อย่างดีเพราะผู้เรียนจะไม่หยุดการแสดงพฤติกรรมในระหว่างที่ไม่ได้รับแรงเสริม เพราะไม่ทราบว่าจะได้รับแรงเสริมอีกเมื่อไร

   ค. การเสริมแรงในอัตราส่วนที่แน่นอน (fixed ratio-FR ) หมายถึง เป็นการให้แรงเสริมตามจํานวนครั้งของ พฤติกรรม โดยจัดในอัตราส่วนที่แน่นอน หรือคงที่ระหว่างการตอบสนองที่ไม่ได้รับการเสริมแรงกับการตอบสนองที่ได้รับการเสริมแรง เช่นให้แรงเสริมถ้าพฤติกรรมที่ต้องการเกิดซ้ำ ๆ 5 ครั้ง อัตราส่วนระหว่างการตอบสนองที่ได้รับแรงเสริม กับการตอบสนองที่ไม่ได้รับแรงเสริมจะเป็น 5: 1 การให้แรงเสริมในลักษณะนี้จะทําให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการในอัตราเร็วมาก แต่ผู้เรียนจะหยุดการแสดงพฤติกรรมชั่วคราวหลังจากที่ได้รับ การเสริมแรงแล้ว

    ง. การเสริมแรงในอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (variable ratio-VR) หมายถึง เป็นการให้แรงเสริมในลักษณะที่ผู้เรียนไม่สามารถคาดคะเนได้ถูกว่าเมื่อไรจะได้รับแรงเสริม เป็นการให้แรงเสริมพฤติกรรมตามจํานวนครั้งที่แปรเปลี่ยนไปเสมอ เช่น ครั้งแรกอาจจะเป็น 4 ครั้ง จึงได้แรงเสริม ครั้งที่ 2 เป็น 10 ครั้ง จึงจะได้แรงเสริม เป็นต้น โดยวิธีให้แรงเสริมลักษณะนี้จะสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมในอัตราที่สูงมาก แม้เมื่อไม่ได้รับแรงเสริมก็ยังสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ต่อไปอีกนาน


    7. การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ไปใช้ในการจัดการศึกษา

1. การใช้เสริมแรง (Reinforcement) ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม ครูควรให้การเสริมแรง โดยการชมเชยหรือให้แรงจูงใจ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้รางวัล ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการให้ผู้อื่นสนใจตนหรือเห็นว่าตนเองสำคัญกว่าคนอื่น การให้แรงจูงใจจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ พอใจที่จะเรียน

2.การปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่างและการลดพฤติกรรมบางอย่าง (Shaping Behavior) หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ก็คือการควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัวดังนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมใหม่ในเรื่องใด ก็ควรให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้น เพื่อให้เด็กทำต่อไปจนเป็นนิสัย แต่ถ้าต้องการให้พฤติกรรมใดหายไปก็ควรลดการเสริมแรงพฤติกรรมนั้น ก็จะทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นหายไป การปลูกฝังพฤติกรรมใหม่ให้แก่เด็กโดยการใช้การเสริมแรงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรม ครูควรมีการวางแผนให้เหมาะสม

3. บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Maching) และเครื่องช่วยสอน (Teaching Learning) สกินเนอร์ได้เสนอการสอนแบบโปรแกรม ซึ่งจัดแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เป็นขั้น ๆ และจัดลำดับให้เป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้เรียนได้ง่าย และเมื่อสำเร็จแต่ละขั้นจะได้รับแรงเสริม หรือให้รางวัลทันที ทั้งบทเรียนสำเร็จรูปและเครื่องช่วยสอนต่างเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้ให้ ซึ่งบทเรียนดังกล่าวควรนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น


บรรยากาศในชั้นเรียนที่มีการเสริมแรง


 
 
The Skinner Box

Operant Conditioning



แหล่งอ้างอิง :
1. https://sites.google.com/site/saimahameaid057/four
2. http://nukjit.blogspot.com/2015/12/blog-post_11.html
3.https://ams.kku.ac.th
4.https://www.gotoknow.org